พอกันที Grooming รู้เท่าทัน ร่วมกันรับมือ และหยุดกระบวนการตระเตรียมการล่วงละเมิดทางเพศ
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00-16.00น. ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส ห้องนกยูง ชั้น 3 อาคารเอ็มเพรสพรีเมียร์ จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบ ZOOM / ไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ
รองศาสตราจารย์ ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานประชุมสภาพลเมืองเชียงใหม่ โดยมีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ขอเปิดสภา เพื่อนำเสนอข้อมูล และสถานะการปัญญากระบวนการตระเตรียมการล่วงละเมิดทางเพศ (Grooming)
โดยสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอขั้นตอนของการ กรูมมิ่ง 7 รูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าระวังการเกิดการล่วงละเมิดทางเพศ
1.เลือกเป้าหมาย เฝ้ามอง หาจังหวะ
2.สร้างความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ
3.ใช้บุญคุณ สร้างความสัมพัรธ์
4.กระตุ้นให้อยู่ลำพัง แยกเราออกจากคนอื่นๆ
5.ให้ฟังความลับ ที่รู้กันเฉพาะเราไม่ให้บอกใคร
6.จับเนื้อจับตัว เริ่มละเมิดทางเพศจากน้อยไปมาก
7.ขู่ให้กลัว ควบคุมบังคับ ถ่ายคลิป รูป และปลอบให้ยอมตาม
ผู้เสียหายจะมีความสับสน รู้สึกผิดจนยอมตาม ปล่อยเลยตามเลย อาจปกป้องผู้กระทำ ไม่กล้าบอกคนอื่น และออกมาจากจุดนั้นเองไม่ได้ และมีนักวิชาการร่วมให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะได้แก่
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา มูลนิธิศานติวัฒธรรม กล่าวว่า อัตราการถูกการกรูมมิ่งเป็น 1 ต่อ 3 หากยังไม่มีข้อกฎหมายรองรับอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการใช้วาทะกรรมต่างๆในการทำร้ายผู้หญิง จากผลสำรวจมีเด็กผู้ชายเห็นด้วยเกือบครึ่งยินดีกับความรุนแรงในผู้หญิงหากไม่ร่วมเพศ วัฒนธรรมที่เป็นพิษอาจทำให้ส่งผลเกิดการคุกคามทางเพศมากยิ่งขึ้น
นางสาวดารารัตน์ รวมสุข มูลนิธิรักษ์ไทย ภาคเหนือ ได้นำเสมอกระบวนการเรียนรู้ 3 โมดูล 1.การรังแก 2.การปรับแนวความคิด 3.การยุติการใช้ความรุนแรง และเรื่องการใช้อำนาจเหนือ (อำนาจแฝง) ผ่านการจัดแคมเปญและจัดค่ารณรงค์ต่างๆ
นางสาววิชญา โมฬีชาติ นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลนครพิงค์ กล่าวว่า การกรูมมิ่ง ไม่ได้มีเฉพาะการเจอกับตัวเพียงอย่างเดียว แต่ทางโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆก็เริ่มเกิดขึ้นแล้ว และผลจากจากโดนกรูมมิ่งส่งผลให้เกิดเป็นโรค PTSD ได้ซึ่งผู้ที่ได้ผ่านเหตุการณ์กรูมมิ่งมา อาจส่งผลให้เกิดการทำร้ายตัวเอง และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด และกล่าวอีกว่าพบกลุ่มคนที่มีความไคล่เด็ก โดยได้เสนอแนะให้ขอประวัติอาชญากรกับบุคคลที่ต้องทำงานร่วมกับ หรือใกล้ชิดกับเด็ก เพราะเป็นสิทธิที่สามารถทำได้
นางพันธพร บุรินทร์สิทธินันท์ อาจารย์แนะแนว โรงเรียนดาราวิทยาลัย กล่าวว่า การให้ความรู้ตั้งแต่วัยอนุบาลจนถึงวัยมัธยมศึกษาโดยเฉพาะเรื่อง ร่างกายของฉัน และเรื่องอินเทอเน็ตเซฟตี้ ในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันมีช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น และเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก
ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ พมจ. ,สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา สพฐ. เชียงใหม่เขต 2 ,กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ,สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ,ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 เชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูล และให้ข้อเสนอแนะว่า ควรให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจให้แก่เด็กและเยาวชน ร่วมถึงผู้ปกครองถึงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ และสามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย เพื่อสร้างความมั่นใจให้เด็กและเยาวชน มีกล้าที่จะพูดในสิ่งที่ตนเองโดนกระทำหรือผ่านเรื่องราวนั้นมา