สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ปี2566ในวาระ“การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่”

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 ณ ห้องนกยูง ชั้น 3 อาคารเอ็มเพรสพรีเมียร์ โรงแรมดิเอ็มเพรส อ.เมือง เชียงใหม่ สภาผู้บริโภคเชียงใหม่ ได้เปิดการสัมมนา
“การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ ”

โดยมีนางมลวิภา ศิริโหราชัย ประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานและมีนางลำดวน มหาวัน หัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการประชุมสภาฯ
โดยมีผู้เข้าร่วมหลักในการประชุมประกอบไปด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ ,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, เทศบาลนครเชียงใหม่ ,ผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนในเขตเมืองเชียงใหม่ ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข, ผู้แทนหน่วยงาน องค์กรที่ทำงานด้านสุขภาพในเขตอำเภอเมือง ผู้นำชุมชนที่อยู่ในเขตเมือง แกนนำศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน สมาชิกองค์กรสภาผู้บริโภค และประชาชนที่สนใจ รวมจำนวน 70 คน

การเปิดสภาผู้บริโภคประจำปี 2566 เรื่อง“การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่” ในวันนี้ เพื่อติดตามและพัฒนาแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขระหว่าง คณะทำงานหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน และเครือข่ายศูนย์ประสานงานฯ ระดับจังหวัดและหน่วยงานให้บริการสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมือง

ซึ่งที่มาของหน่วยงานประจำจังหวัดเชียงใหม่
โดย สภาองค์กรของผู้บริโภค เกิดขึ้นตามระเบียบสภาองค์กรของผู้บริโภค ฉบับที่ 4 ว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัด กลไกเขตพื้นที่ และการสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัด กลไกเขตพื้นที่ สมาชิก และองค์กรของผู้บริโภค ของสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2564 เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคให้มีองค์กรผู้บริโภคที่เข้มแข็งทั่วถึง ในการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตามวัตถุประสงค์ของสภาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562 และข้อบังคับสภาองค์กรของผู้บริโภค ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 หมวดที่ 4 ข้อ 11 หมวดที่ 9 ข้อ 42 และข้อ 43 (2 และ (5)
ที่มาของการเปิดสภาผู้บริโภค

     สภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญใน พรบ.หลักประกันสุขภาพว่าเป็นกฏหมายที่สร้างความเสมอภาคและเป็นธรรมในการเข้าถึงระบบการสร้างเสริมสุขภาพและบริการสาธารณสุขของประชาชนในประเทศอันเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่ทุกคนพึงได้รับในระบบหลักประกันสุขภาพ  ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะในเขตเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีความเป็นทั้งชุมชน และชุมคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และมีความหลากหลายทั้งฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ และชาติพันธุ์   และปัญหาความเลื่อมล้ำทางการรักษาพยาบาลของผู้คนที่หลากหลาย

     ดังนั้น หน่วย 50 (5) และเครือข่ายสภาองค์กรของผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ทางข้อเสนอแนะต่อการเปิดสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ มีดังนี้
  1. แนวทางในการดูแลกลุ่มคนที่อยู่ในเมืองที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิ ที่จะเข้าถึงระบบบริการในเขตเมืองเชียงใหม่
  2. การให้บริการกับกลุ่มในชุมชนเมืองเพื่อให้เข้าถึงบริการใกล้บ้านใกล้ใจได้ เช่น นวัตกรรมเรื่องการจัดบริการของสุขภาพโดยเฉพาะชุมชนในเขตเมือง ร้านยาในชุมชน การให้ความรู้ชุดสิทธิประโยชน์การส่งเสริมป้องกันโรค (PP) ของประชาชน อ้างอิงจาก ฉ. 10 เป็นต้น
  3. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลซึ่งยังไม่มีตัวฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันของหน่วยงานบริการในพื้นที่ ระบบข้อมูลเรื่องการเข้าถึง PP (Promotion & Prevention)
  4. การเข้าไม่ถึงกลุ่มคนในพื้นที่เพื่อให้เข้าถึงระบบการรักษา ระบบการส่งต่อ บทบาท สภาผู้บริโภคต้องทำให้ ผู้บริโภคต้องเข้าใจสถานการณ์ที่อยู่ในเมือง ต้องเข้าใจระบบปฐมภูมิ ต้องเข้าใจชุดสิทธิประโยชน์ในระบบ PP การสื่อสารและการสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มคนในเมือง
  5. การจัดระบบการดูแลรักษาสุขภาพของสถานบริการสุขภาพสำหรับคนในเมืองที่ใกล้บ้าน ใกล้ใจ และมีคุณภาพมาตราฐานการบริการ ที่อยู่ภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สถานบริการที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ. สถานบริการของ อปท. รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *