สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงเขต 9 เชียงใหม่ จัดประชุมประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างกลไกคุ้มครองผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อ ภายใต้โครงการ Gen เชื่อมใจ รู้เท่าทันป้องกันบอกต่อ สนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวนเงินหนึ่งล้านบาท ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เภสัชกรหญิงนฤมล ขันตีกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างกลไกคุ้มครองผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อ ภายใต้โครงการ Gen เชื่อมใจ รู้เท่าทันป้องกันบอกต่อ สนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จำนวนเงินหนึ่งล้านบาท ดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 โดยมีเภสัชกรมโนรมภ์ สินธพอาชากุล หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมมณีรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เภสัชกรหญิงนฤมล ขันตีกุล กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย Gen เชื่อมใจ รู้เท่าทันป้องกันบอกต่อ 4 ภาคส่วน (ภาครัฐ/ภาคเอกชน/ภาคประชาชน/ผู้นำชุมชน) ทุกช่วงวัย (BBB, X, Y, Z) อย่างมีส่วนร่วมในการวางแผนขับเคลื่อนเครือข่ายสื่อและเครือข่ายผู้สูงอายุ ในด้านการรู้เท่าทันสื่อและเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นโครงการทีจะเชื่อมต่อกลุ่มวัยต่างๆเพื่อการรู้เท่าทัน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ที่พบการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง การหลงเชื่อข่าวปลอม กลลวงมิจฉาชีพเป็นต้น การประชุมครั้งนี้ ทำให้เห็นความร่วมมือ ร่วมวางแผนกลยุทธ์การทำงานร่วมกันของทุกภาคีเครือข่าย เสริมจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็งของกันและกัน เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน รู้เท่าทันสื่อ โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคสื่อมวลชน รวม 60คน
ทั้งนี้ เภสัชกรหญิงนฤมล ได้กล่าวชื่นชม เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายภาคประชาชน และภาครัฐ ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ที่ทำให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอกหลงเชื่อโฆษณา โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสาร ข่าวปลอม ข่าวบิดเบือนไปจนถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์ต่างๆ และกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอีกกลุ่มที่มักถูกหลอกและหลงเชื่อใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย หรือไม่มีประโยชน์ เป็นโครงการทีจะเชื่อมต่อกลุ่มวัยต่างๆ เพื่อการรู้เท่าทัน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ที่พบการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง การหลงเชื่อข่าวปลอม กลลวงมิจฉาชีพ เป็นต้น