เชียงใหม่ “รวมพลังยับยั้ง เชื้อดื้อยา” รณรงค์ให้ความรู้ สื่อสารสาธารณะ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกวิธีเร่งสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ บรรลุยุทธศาสตร์ลดปัญหาเชื้อดื้อยา

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) MORU สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่ายผู้บริโภค จัดกิจกรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย ประจำปี 2566” “เชื้อดื้อยา เพราะคนดื้อ” ในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรณรงค์ความตระหนักรู้การใช้ยาต้านแบคทีเรียผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการรับรู้และการตื่นตัวของประชาชนทั่วไปต่อเรื่องปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาต้านแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง โดยมุ่งเน้น การรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน ต่อเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และการใช้ยาต้านจุลชีพที่สมเหตุผล พร้อมทั้งจัดบูธกิจกรรมให้ความรู้ภายในงาน ให้คำปรึกษาแก่ผู้สนใจ และคลายข้อสงสัยเกี่ยวเชื้อดื้อยา และได้มีเวทีเสวนาประเด็นสถานการณ์เชื้อดื้อยาในชุมชน และสถานการณ์เชื้อดื้อยาในอาหารและสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไข และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่ร่วมงานในครั้งนี้
โดยยึดร่างแผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 (แผน 5 ปี) ตั้งเป้าลดอัตราป่วยจากเชื้อดื้อยาลง 10%
โดยมี 6 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถลดอัตราการป่วยจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์ลง 10% ลดความเสี่ยงการดื้อยาต้านจุลชีพในอาหารและสิ่งแวดล้อม โดยมีระบบตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและการตกค้างในอาหารและในสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ลดการบริโภคยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลง 30% เมื่อเทียบกับปี 2560 ลดการดื้อยาสัตว์ลง 50% เมื่อเทียบกับ ปี 2560 ประชาชนไม่น้อยกว่า 30% มีความรอบรู้ด้านเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพ ระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทยมีสมรรถนะตามเกณฑ์สากลไม่ต่ำกว่าระดับ 4

ทั้งนี้ ในปีพ.ศ. 2566 นี้ องค์การอนามัยโลกยกระดับชื่องานเป็น World AMR Awareness Week 2023 คือ ทุกคนต้องตระหนักถึงปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และมี theme งานว่า Preventing antimicrobial resistance together เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

สำหรับผู้ที่สนใจสื่อความรู้เชื้อดื้อยา สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ Antibiotic Awareness Thaiand ( http://atb-aware.thaidrugwatch.org ) Facebook : Antibiotic Awareness Thaiand (https://www.facebook.com/thai.antibiotic.awareness )

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *