วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสภาฯ ชั้น 2 อาคารหอประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยพันจ่าเอกวิทยา ลีละศาสตร์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมประชุมนางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ประธานกองเลขานุการสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงานการจัดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ และนายทวีศิลป์ ชัยชนะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเปิดเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง “ระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง จังหวัดเชียงใหม่”
“ยกระดับสุขภาวะทางจิตจังหวัดเชียงใหม่ไร้ความรุนแรง” (Mental well-being system for non-violent Chiang Mai society) เรื่องสุขภาวะทางจิตจังหวัดเชียงใหม่ไร้ความรุนแรงเป็นประเด็นสอดรับกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่16 พ.ศ. 2566 เรื่องระบบสุขภาวะทางจิตเพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง จังหวัดเชียงใหม่มีสถานการณ์ปัญหาด้าน สุขภาพจิตและจิตเวช รวมไปถึงสถานการณ์ปัญหาการกระทําความรุนแรงต่อตนเอง การกระทําความรุนแรงต่อ บุคคลอื่น ตลอดจนปัญหาการทําร้ายตนเองจนถึงแก่ความตาย (การพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายสําเร็จ) โดยพบว่ามีปัจจัยสาเหตุที่หลากหลาย เช่น ปัญหาสุขภาพทางกายจากโรคเรื้อรังต่างๆ ปัญหาสุขภาพจิตและโรค เรื้อรังทางจิตเวช ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาที่ เกี่ยวเนื่องกับการใช้สารเสพติด ปัญหาความไม่เข้าใจกันในครอบครัว ได้ก่อให้เกิดปัญหาการกระทําความรุนแรงต่อ กันค่อนข้างสูง ทั้งการกระทําความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และคนชรา ตลอดจนการกระทําความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ที่มี ความเปราะบางในสังคม อันก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย ดังนั้นการยกประเด็นการยกระดับสุขภาวะ ทางจิตจังหวัดเชียงใหม่ไร้ความรุนแรงจึงมีความสําคัญและเป็นที่เห็นชอบของคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะขับเคลื่อนเป็นประเด็นสมัชชาสุขภาพจังหวัดเพื่อส่งเสริมให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
จึงเห็นชอบต่อกรอบทางนโยบายดังนี้ ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาเชิงสังคม ล้วนเชื่อมร้อยก่อให้เกิดปัญหาการกระทํา ความรุนแรงในสังคมจํานวนมากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปัญหาสุขภาวะทางจิตนั้นเกิดจากปัจจัย สาเหตุเชิงสังคมที่หลากหลาย (social health determinant) และทุกปัจจัยล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น ไม่ว่า คนคนหนึ่งจะมีปัญหาสุขภาพกายย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิตใจและสุขภาพครอบครัวสังคมตามมา และส่งผลกระทบต่อความผาสุกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อบุคคลหนึ่งเกิดปัญหาสุขภาพแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างด้วยและในสถานการณ์สังคมที่เปราะบางทําให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพที่เปราะบางทําให้เกิดการกระทําความรุนแรงต่อกันได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการจะส่งเสริมให้ประชาชนทุกคน หน่วยงานองค์กร และภาคีเครือข่ายต่างๆใน จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการในการส่งเสริมให้คนมีสุขภาวะทางจิตที่ดี เข้าถึง ระบบบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและครอบคลุม มีความปลอดภัย ไร้ซึ่งปัญหาการกระทําความรุนแรงต่อกัน ก็จะ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสและความหวังให้ประชากรทุกกลุ่มที่ทั้งมีอาการเจ็บป่วยและไม่มีอาการเจ็บป่วยสามารถมีสุขภาวะและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ และหากได้รับผลกระทบจากความรุนแรงส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มเป็นผู้รับ 27 การกระทําความรุนแรงและเป็นผู้ส่งต่อความรุนแรงและขับเคลื่อนวัฏจักรของความรุนแรงในสังคมทั้งในระยะสั้น และระยะยาวต่อไป ดังนั้นการให้ความใส่ใจประชากรทุกกลุ่มแล้ว ระบบสุขภาวะทางจิตควรต้องลงทุนและให้ คุณค่ากับโครงสร้างสังคมและสภาพแวดล้อมสําหรับกลุ่มประชากรเด็กและเยาวชน เป็นพิเศษโดยเฉพาะการ ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งในการให้ความรักและดูแลสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะวัยเด็กและเยาวชนสามารถเติบโต มีสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี และป้องกันวัฏจักรของความรุนแรง ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรงต่อไป
ข้อเสนอในการแก้ไขเพื่อยกระดับสุขภาพจิตและสร้างสุขแก่ประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
1.การลดความรุนแรงในเด็ก และเยาวชน
2.ระบบการบริการสาธารณสุข
3.การส่งเสริมความเข้มแข็งในครอบครัว
4.การพัฒนาระบบและกลไกเพื่อจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย
5.การจัดทำข้อเสนอเชิงกฎหมายและนโยบาย
6.การเพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิตในโรงเรียน
7.สร้างเครือข่ายความร่วมมือขับเคลื่อนในเรื่องสุขภาพจิตและลดความรุนแรง
และทีมเลขานุการ นําเสนอ ร่างมติ ที่ปรับแก้ตามความเห็นของที่ประชุม และที่ประชุมลงมติรับรอง วาระสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่